หัวข้อ   “ความเชื่อมั่นต่อนายกฯ อภิสิทธิ์ ในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน”
                 ด้วยวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการ
ประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ครั้งที่ 14 ประกอบกับก่อนหน้านี้ นายกฯ อภิสิทธิ์
ได้กล่าวผ่านรายการเชื่อมั่นประเทศไทยว่าจะใช้โอกาสในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้เชิญชวน
ทุกภาคส่วนมาทำข้อตกลงร่วมกัน และประกาศเจตนารมณ์หยุดยั้งพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชัน
ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินโครงการ
สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “
ความเชื่อมั่นต่อนายกฯ อภิสิทธิ์ในการแก้ปัญหาทุจริต
คอร์รัปชัน
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จำนวนทั้งสิ้น 1,136 คน  เมื่อวันที่ 2 - 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                ประชาชนถึงร้อยละ 93.1 เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของสังคมไทยใน
ปัจจุบันเป็นปัญหาที่รุนแรงถึงรุนแรงมาก  โดยการทุจริตคอร์รัปชันที่ประชาชนคิดว่าเป็นปัญหา
รุนแรงมากที่สุดในขณะนี้ได้แก่  การใช้อิทธิพลทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ (ร้อยละ
40.8)  รองลงมาคือ การจัดซื้อจัดจ้าง การฮั้วประมูล (ร้อยละ 16.4)   และการใช้นโยบาย/ใช้
กฎหมาย แบบ 2 มาตรฐาน (ร้อยละ 13.0) ตามลำดับ
 
                เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่นายกฯ
อภิสิทธิ์กล่าวผ่านรายการเชื่อมั่นประเทศไทยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชน
ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าแนวทางการแก้ปัญหาที่นายกฯ ประกาศออกมาทั้ง 4 เรื่องจะทำให้เกิดผลได้จริง โดยเรื่องการปรับปรุง
ระบบการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำให้โปร่งใส  ปราศจากการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจทั้งฝ่ายประจำและฝ่ายการเมือง
เป็นเรื่องที่ประชาชนเชื่อว่าจะไม่สามารถทำให้สำเร็จผลได้มากที่สุด  รองลงมาคือ การปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้
เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
 
                 ส่วนเรื่องที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ในวันที่ 10 - 13
พ.ย. นี้  พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 75.8 ไม่ทราบว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว  นอกจากนี้
เมื่อถามว่าหลังการประชุมแล้วปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยจะเป็นอย่างไร  พบว่า  ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 72.3)
เชื่อว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยจะยังคงเหมือนเดิม  มีเพียงร้อยละ 15.5 ที่เชื่อว่าจะน้อยลง  ขณะที่ร้อยละ
12.2 เชื่อว่าจะมากขึ้น
 
                 สำหรับนักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุดได้แก่ นายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ (ร้อยละ 49.8)  รองลงมาคือ  นายชวน  หลีกภัย (ร้อยละ 30.3)   และนายกรณ์  จาติกวณิช (ร้อยละ 2.2)
ส่วนนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุดได้แก่  นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ (ร้อยละ 39.2)
รองลงมาคือ   นายเนวิน  ชิดชอบ (ร้อยละ 24.2)  และนายโสภณ  ซารัม (ร้อยละ 8.3)  ตามลำดับ
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อความรุนแรงของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของสังคมไทยในปัจจุบัน พบว่า

 
ร้อยละ
รุนแรงถึงรุนแรงมาก
     
( โดยแบ่งเป็น รุนแรงร้อยละ 51.0 และรุนแรงมากร้อยละ 42.1 )
93.1
ไม่ค่อยรุนแรงถึงไม่รุนแรงเลย
     ( โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยรุนแรงร้อยละ 6.6 และไม่รุนแรงเลยร้อยละ 0.3 )
6.9
 
 
             2. เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันที่เป็นปัญหารุนแรงมากที่สุดของประเทศไทยในขณะนี้ คือ

 
ร้อยละ
การใช้อิทธิพลทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์
40.8
การจัดซื้อจัดจ้าง การฮั้วประมูล
16.4
การใช้นโยบาย และใช้กฎหมาย แบบ 2 มาตรฐาน
13.0
การให้ผลตอบแทนและรับสินบน
11.3
การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำ
9.6
การทุจริตการเลือกตั้ง
8.9
 
 
             3. ความเชื่อมั่นต่อแนวทางการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่นายกฯ อภิสิทธิ์ กล่าวผ่านรายการ
                 เชื่อมั่นประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ที่ผ่านมา หลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
                 ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ
                 ว่าแนวทางที่ประกาศต่อไปนี้จะทำให้สำเร็จผลได้จริงหรือไม่


แนวทางการแก้ปัญหา
เชื่อว่าทำได้
(ร้อยละ)
เชื่อว่าทำไม่ได้
(ร้อยละ)
รวม
(ร้อยละ)
1) ปรับปรุงระบบการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ โดยเปิด
โอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นใน
กระบวนการคัดเลือกหรือสรรหา เพื่อไม่ให้การคัดเลือกหรือ
สรรหาจำกัดอยู่ในวงแคบๆ และเป็นไปตามความต้องการ
ของผู้มีอำนาจทั้งฝ่ายประจำ และฝ่ายการเมืองมากกว่าจะ
เป็นไปตามกระบวนการของการคัดเลือกหรือสรรหา
33.2
66.8
100.0
2) ปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะการประมูลงาน
ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ออคชั่น) ให้สอดคล้องกับภาวะ
ของการจัดซื้อจัดจ้างใน แต่ละเรื่องเพื่อให้เกิดการแข่งขัน
อย่างเสรีและเป็นธรรมอย่างแท้จริง
36.5
63.5
100.0
3) ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการว่าจ้างที่ปรึกษา
ให้รอบคอบรัดกุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการขนาดใหญ่
เพื่อป้องกันไม่ให้ที่ปรึกษาเข้าไปกำหนดรายละเอียดต่างๆ
ของโครงการซึ่งเอื้อต่อผู้เข้าประมูลงานรายใดรายหนึ่ง และ
ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์
37.1
62.9
100.0
4) ปรับปรุงการกำหนดราคากลาง โดยจัดทำราคาต้นทุน
มาตรฐานเพื่อนำมาเทียบเคียงกันเพื่อป้องกันไม่ให้มีการ
กำหนดราคากลางสูงเกินความเป็นจริง และนำไปสู่การ
สมยอมในการเสนอราคา
49.7
50.3
100.0
 
 
             4. การรับทราบเรื่องที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต
                 ในวันที่ 10 - 13 พ.ย. ที่จะถึงนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่ทราบ
75.8
ทราบ
24.2
 
 
             5. หลังจากการประชุมนานาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตแล้ว ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของ
                 ประเทศไทยจะเป็น อย่างไร (ปัจจุบันประเทศไทยติดอันดับโลกเรื่องการทุจริต โดยอยู่อันดับ 78
                 จาก 178 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในอันดับ 9 จาก 23 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย)


 
ร้อยละ
ทุจริตคอร์รัปชันมากขึ้น
     ( โดยให้เหตุผลว่า ยังไม่มีการพัฒนา นักการเมืองยังเห็นแก่ผลประโยชน์
        ของตนเองเป็นหลัก )
12.2
ทุจริตคอร์รัปชันเหมือนเดิม/เท่าเดิม
     
( โดยให้เหตุผลว่า ยังไงก็แก้ไม่ได้ นักการเมืองยังทุจริตเหมือนเดิม
       มีทุกยุคทุกสมัย )
72.3
ทุจริตคอร์รัปชันน้อยลง
     ( โดยให้เหตุผลว่า มีนโยบายที่จริงจังขึ้น น่าจะมีแนวทางแก้ปัญหา
        ที่ดีขึ้น )
15.5
 
 
             6. นักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตมากที่สุด (3 อันดับแรก) คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
49.8
นายชวน หลีกภัย
30.3
นายกรณ์ จาติกวณิช
2.2
อื่นๆ อาทิ  นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน   ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร   และ
             นายจาตุรนต์ ฉายแสง
17.7
 
 
             7. นักการเมืองไทยในปัจจุบันที่มีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์สุจริตน้อยที่สุด (3 อันดับแรก) คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
39.2
นายเนวิน ชิดชอบ
24.2
นายโสภณ ซารัมย์
8.3
อื่นๆ อาทิ  นายจตุพร พรหมพันธุ์   ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
              นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล   และ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
28.3
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
26 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่  คลองเตย  คลองสามวา  จตุจักร  จอมทอง  ดอนเมือง
ดินแดง ดุสิต ทุ่งครุ บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ประเวศ ป้อมปราบ พระโขนง
พระนคร ราชเทวี สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่ และจังหวัดในเขตปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูล
โดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,136 คน เป็นชายร้อยละ 50.4 และหญิงร้อยละ 49.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง  จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 2 - 4 พฤศจิกายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 9 พฤศจิกายน 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
573
50.4
             หญิง
563
49.6
รวม
1,136
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
278
24.5
             26 – 35 ปี
296
26.0
             36 – 45 ปี
276
24.3
             46 ปีขึ้นไป
286
25.2
รวม
1,136
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
668
58.9
             ปริญญาตรี
415
36.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
40
3.5
             ไม่ระบุการศึกษา
13
1.1
รวม
1,136
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
84
7.4
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
260
22.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
418
36.8
             รับจ้างทั่วไป
167
14.7
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
67
5.9
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
135
11.9
             ไม่ระบุอาชีพ
5
0.4
รวม
1,136
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776